วัฒนธรรมภาคกลาง
Cultural Central.
วัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่นภาคกลาง
ภาคกลางเป็นภาคที่มีประชาการสูงสุด โดยรวมพื้นที่อันเป็นที่ตั้ง ของจังหวัดมากกว่าภูมิภาคอื่น ๆ ใช้ภาษากลางในการสื่อความหมายซึ่งกันและกัน วัฒนธรรมไทยท้องถิ่นภาคกลาง ประชาชนประกอบอาชีพทำนา การตั้งถิ่นฐานจะหนาแน่นบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำ มีวิถีชีวิตเป็นแบบชาวนาไทย คือ การรักพวกพ้อง พึ่งพาอาศัยกัน มีความเชื่อ และเคารพบุคคลสำคัญผู้ล่วงลับไปแล้ว มีการใช้เครื่องปั้นดินเผาตามชุมชนและหมู่บ้านในชนบท การละเล่นพื้นบ้านที่เป็นลักษณะเด่น ได้แก่ มังคละรำเต้น เต้นกำรำเคียว เพลงปรบไก่ เพลงลำตัด เป็นต้น
นอกจากนี้ในท้องที่จังหวัดเพชรบุรี มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น คือมี ความสามารถในการปลูกสร้างเรือนไทย ความเป็นช่วงฝีมือที่ประณีตในการตกแต่งวัด และช่าง ประดิษฐ์ต่าง ๆ เช่น ช่างทอง ช่างแกะสลักลายไทย ลวดลายปูนปั้นประดับพระสถูปเจดีย์ชนกลุ่มน้อยในท้องถิ่นภาคกลาง มีหลายเผ่าพันธุ์ อาทิ ลาวโข่ง กระเหรี่ยง ในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี ลาวพวน ในอำเภอบ้านหมี จังหวัดลพบุรี คนลาว ในเขต จังหวัดเพชรบุรี ปราจีนบุรี และฉะเชิงเทรา มอญ ในอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ
นอกจากนี้ในท้องที่จังหวัดเพชรบุรี มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น คือมี ความสามารถในการปลูกสร้างเรือนไทย ความเป็นช่วงฝีมือที่ประณีตในการตกแต่งวัด และช่าง ประดิษฐ์ต่าง ๆ เช่น ช่างทอง ช่างแกะสลักลายไทย ลวดลายปูนปั้นประดับพระสถูปเจดีย์ชนกลุ่มน้อยในท้องถิ่นภาคกลาง มีหลายเผ่าพันธุ์ อาทิ ลาวโข่ง กระเหรี่ยง ในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี ลาวพวน ในอำเภอบ้านหมี จังหวัดลพบุรี คนลาว ในเขต จังหวัดเพชรบุรี ปราจีนบุรี และฉะเชิงเทรา มอญ ในอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ
ประเพณีการตักบาตรดอกไม้
ในวันเข้าพรรษา คือวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ชาวบ้านวัดพระ พุทธบาท จังหวัดสระบุรี แถบนั้นมีคติเชื่อว่าการบูชา พระรัตนตรัยด้วยดอกไม้ธูปเทียน "อามิสบูชา" ในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนานั้นย่อมได้รับผลอานิสงส์มากมาย ดังนั้นพอถึงวันเข้าพรรษา ชาวบ้านจะเก็บดอกไม้ป่าซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นพืชประเภทที่มีกอหรือเหง้าฝังอยู่ใต้ดินเช่นต้นกระชายหรือต้นขมิ้น พืชได้รับความชุ่มชื่นจากฝนลำต้นก็แตกยอดโผล่ขึ้นมาจากดิน สูงประมาณคืบเศษ ๆ ดอกมีขนาดเล็ก ออกเป็นช่อตรงบริเวณส่วนยอดของลำต้น หลายสีสันงามตามได้แก่สีขาว สีเหลือง และสีเหลืองแซมม่วง ชาวบ้านเรียกชื่อต่างกันไปว่า "ดอกยูงทอง" บ้างหรือ "ดอกหงส์ทอง" บ้าง แต่ที่นิยมเรียกรวมกันก็ว่า "ดอกเข้าพรรษา" เพราะเห็นว่าดอกไม้ป่าเหล่านี้จะบานสะพรั่ง ให้เห็น อย่างดาษดื่นก็เฉพาะในเทศกาลเข้าพรรษานี่เอง
ซึ่งในประเพณีการตักบาตรดอกไม้นั้นจะมีพิธีตักบาตรดอกไม้วันละ 2 รอบ คือ รอบเช้าเวลา 08.00 น. รอบบ่าย เวลา 15.00 น. ในวันแรกของการจัดงาน เป็นพิธีบวงสรวงดวงพระวิญญาณ สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มีอยู่ในอาณาบริเวณพระพุทธบาท
ภาคค่ำขบวนพยุหยาตราสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ขบวนรถบุปผชาติ การแสดงศิลปะพื้นบ้าน วัฒนธรรม และขบวนต่างๆ จะเริ่มเคลื่อนออกจากหน้าสำนักงานเทศบาลตำบลพระพุทธบาท ไปตามถนนพหลโยธินและเลี้ยวเข้าบริเวณวัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร โดยจะมีพิธีเปิดงานพิธีตักบาตรดอกไม้ในภาคกลางคืนดอกไม้ที่ใช้ตักบาตรแด่พระภิกษุสงฆ์นั้นจะต้องเป็น“ดอกเข้าพรรษา” เท่านั้น
ซึ่ง “ดอกเข้าพรรษา” นั้นเป็นดอกไม้ชนิดหนึ่ง ต้นคล้าย ๆ ต้นกระชาย หรือ ขมิ้น สูงประมาณ 1 คืบเศษ มีดอกสีเหลือง สีขาวและสีน้ำเงินม่วง ต้นดอกไม้เข้าพรรษานี้จะ ขึ้นตามไหล่เขาโพธิ์ลังกา หรือเขาสุวรรณบรรพต เทือกเขาวง และเขาพุใกล้ ๆ กับรอยพระพุทธบาท และจะผลิดอกเฉพาะช่วงเข้าพรรษาเท่านั้น จนชาวบ้านเรียกชื่อให้เป็นที่เหมาะสมว่า “ต้นเข้าพรรษา"
โดยดอกเข้าพรรษาที่ชาวพุทธออกไปเก็บนั้น มี 3 สี คือ ดอกสีเหลือง มี 2พันธุ์ คือ พันธุ์เหลืองพวง (หางกระรอก) และพันธุ์เหลืองมะละกอ (บานปลาย) ดอกสีขาว ซึ่งทั้ง 2 สีนั้นดูจะหาง่ายไม่ลำบากยากเย็นนัก แต่การเก็บดอกไม้เข้าพรรษาซึ่งเป็นสีม่วงนั้น เขาถือกันว่าถ้าผู้ใดออกไปเก็บดอกเข้าพรรษาสีม่วงมาใส่บาตรได้ คนนั้นจะได้รับบุญกุศลมากมายกว่าการนำดอกไม้สีอื่น ๆ มาตักบาตร
หลังจากที่พระภิกษุสงฆ์เดินรับบิณฑบาตจากพุทธศาสนิกชนแล้ว จะนำดอกไม้ไปสักการะ “รอยพระพุทธบาท” พระเจดีย์จุฬามณี อันเป็นพระเจดีย์ที่บรรจุพระเขี้ยวแก้วจำลองขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วนำไปสักการะพระเจดีย์มหาธาตุองค์ใหญ่ ซึ่งชาวพุทธถือว่าเป็นพระเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
พระเจดีย์องค์นี้ ทรงเหมือนกับองค์พระธาตุพนม เป็นการคารวะต่อองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และระหว่างที่พระภิกษุเดินลงจากพระมณฑปทางบันไดนาคเจ็ดเศียรนั้น พุทธศาสนิกชนก็จะนำเอาน้ำสะอาดมาล้างเท้าพระภิกษุสงฆ์ ซึ่งถือว่าน้ำที่ได้ชำระล้างเท้าให้พระภิกษุสงฆ์นั้นเสมือนหนึ่งได้ชำระล้างบาปของตนด้วย
สำหรับ การจัดงานประเพณีตักบาตรดอกไม้ในวันที่สองของการจัดงาน จะมีพิธีตักบาตรดอกไม้ 2 รอบคือ เวลา08.00 น. และ 15.00 น. ส่วนในวันสุดท้ายของการจัดงาน ซึ่งตรงกับวันเข้าพรรษา จะมีพิธีถวายเทียนพรรษาพระราชทาน และเทียนพรรษา ณ อุโบสถวัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร
ประเพณีตักบาตรดอกไม้และถวายเทียนพรรษา ประจำปี 2550 ยังมีกิจกรรมอื่นๆที่น่าสนใจ เช่น การจำหน่ายสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์การประกวดเทพีตักบาตรดอกไม้ การจัดนิทรรศการตักบาตรดอกไม้ การประกวดจัดดอกไม้ใบตอง และกิจกรรมอื่นๆอีกมากมาย
ประเพณีตักบาตรดอกไม้” นับเป็นประเพณีอันเก่าแก่ ที่ควรค่าแห่งการอนุรักษ์ยิ่งเพราะหนึ่งปีมีหนึ่งครั้ง และมีเพียงแห่งเดียวที่พระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร นอกจากชาวพุทธศาสนิกชน จะได้บุญกุศลอันยิ่งใหญ่ กับการถวายดอกเข้าพรรษาแด่พระภิกษุสงฆ์ แล้วยังตื่นตา ตื่นใจกับขบวนรถบุพชาติ ขบวนวัฒนธรรม และการแสดงศิลปะพื้นบ้านด้วย ที่ขาดเสียมิได้คือ ความงดงามของดอกเข้าพรรษา ที่บานสะพรั่ง ทั่วทั้งวัดพระพุทธบาทตลอดทั้ง 3วัน
ภาคค่ำขบวนพยุหยาตราสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ขบวนรถบุปผชาติ การแสดงศิลปะพื้นบ้าน วัฒนธรรม และขบวนต่างๆ จะเริ่มเคลื่อนออกจากหน้าสำนักงานเทศบาลตำบลพระพุทธบาท ไปตามถนนพหลโยธินและเลี้ยวเข้าบริเวณวัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร โดยจะมีพิธีเปิดงานพิธีตักบาตรดอกไม้ในภาคกลางคืนดอกไม้ที่ใช้ตักบาตรแด่พระภิกษุสงฆ์นั้นจะต้องเป็น“ดอกเข้าพรรษา” เท่านั้น
ซึ่ง “ดอกเข้าพรรษา” นั้นเป็นดอกไม้ชนิดหนึ่ง ต้นคล้าย ๆ ต้นกระชาย หรือ ขมิ้น สูงประมาณ 1 คืบเศษ มีดอกสีเหลือง สีขาวและสีน้ำเงินม่วง ต้นดอกไม้เข้าพรรษานี้จะ ขึ้นตามไหล่เขาโพธิ์ลังกา หรือเขาสุวรรณบรรพต เทือกเขาวง และเขาพุใกล้ ๆ กับรอยพระพุทธบาท และจะผลิดอกเฉพาะช่วงเข้าพรรษาเท่านั้น จนชาวบ้านเรียกชื่อให้เป็นที่เหมาะสมว่า “ต้นเข้าพรรษา"
โดยดอกเข้าพรรษาที่ชาวพุทธออกไปเก็บนั้น มี 3 สี คือ ดอกสีเหลือง มี 2พันธุ์ คือ พันธุ์เหลืองพวง (หางกระรอก) และพันธุ์เหลืองมะละกอ (บานปลาย) ดอกสีขาว ซึ่งทั้ง 2 สีนั้นดูจะหาง่ายไม่ลำบากยากเย็นนัก แต่การเก็บดอกไม้เข้าพรรษาซึ่งเป็นสีม่วงนั้น เขาถือกันว่าถ้าผู้ใดออกไปเก็บดอกเข้าพรรษาสีม่วงมาใส่บาตรได้ คนนั้นจะได้รับบุญกุศลมากมายกว่าการนำดอกไม้สีอื่น ๆ มาตักบาตร
หลังจากที่พระภิกษุสงฆ์เดินรับบิณฑบาตจากพุทธศาสนิกชนแล้ว จะนำดอกไม้ไปสักการะ “รอยพระพุทธบาท” พระเจดีย์จุฬามณี อันเป็นพระเจดีย์ที่บรรจุพระเขี้ยวแก้วจำลองขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วนำไปสักการะพระเจดีย์มหาธาตุองค์ใหญ่ ซึ่งชาวพุทธถือว่าเป็นพระเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
พระเจดีย์องค์นี้ ทรงเหมือนกับองค์พระธาตุพนม เป็นการคารวะต่อองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และระหว่างที่พระภิกษุเดินลงจากพระมณฑปทางบันไดนาคเจ็ดเศียรนั้น พุทธศาสนิกชนก็จะนำเอาน้ำสะอาดมาล้างเท้าพระภิกษุสงฆ์ ซึ่งถือว่าน้ำที่ได้ชำระล้างเท้าให้พระภิกษุสงฆ์นั้นเสมือนหนึ่งได้ชำระล้างบาปของตนด้วย
สำหรับ การจัดงานประเพณีตักบาตรดอกไม้ในวันที่สองของการจัดงาน จะมีพิธีตักบาตรดอกไม้ 2 รอบคือ เวลา08.00 น. และ 15.00 น. ส่วนในวันสุดท้ายของการจัดงาน ซึ่งตรงกับวันเข้าพรรษา จะมีพิธีถวายเทียนพรรษาพระราชทาน และเทียนพรรษา ณ อุโบสถวัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร
ประเพณีตักบาตรดอกไม้และถวายเทียนพรรษา ประจำปี 2550 ยังมีกิจกรรมอื่นๆที่น่าสนใจ เช่น การจำหน่ายสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์การประกวดเทพีตักบาตรดอกไม้ การจัดนิทรรศการตักบาตรดอกไม้ การประกวดจัดดอกไม้ใบตอง และกิจกรรมอื่นๆอีกมากมาย
ประเพณีตักบาตรดอกไม้” นับเป็นประเพณีอันเก่าแก่ ที่ควรค่าแห่งการอนุรักษ์ยิ่งเพราะหนึ่งปีมีหนึ่งครั้ง และมีเพียงแห่งเดียวที่พระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร นอกจากชาวพุทธศาสนิกชน จะได้บุญกุศลอันยิ่งใหญ่ กับการถวายดอกเข้าพรรษาแด่พระภิกษุสงฆ์ แล้วยังตื่นตา ตื่นใจกับขบวนรถบุพชาติ ขบวนวัฒนธรรม และการแสดงศิลปะพื้นบ้านด้วย ที่ขาดเสียมิได้คือ ความงดงามของดอกเข้าพรรษา ที่บานสะพรั่ง ทั่วทั้งวัดพระพุทธบาทตลอดทั้ง 3วัน
ประเพณีแห่พระบรมสารีริกธาตุวัดนางชี เป็นงานบุญประเพณีประจำปีของเขตภาษีเจริญ ฝั่งธนบุรี จังหวัดกรุงเทพมหานคร จัดขึ้นในวันแรม 2 ค่ำ เดือน 12 ของทุกปี หลังวันงานลอยกระทงและเทศน์มหาชาติ ซึ่งในสมัยก่อน เรียกว่างานชักพระ ซึ่งแตกต่างจากงานชักพระของจังหวัดทางภาคใต้ เป็นงานชักพระแห่งเดียวที่จัดขึ้นในกรุงเทพฯ และยังแตกต่างไปจากงานชักพระทางจังหวัดภาคใต้ซึ่งเป็นประเพณีอันสืบเนื่องมาจากพระพุทธประวัติตอนที่พระพุทธเจ้าเสด็จจากดาวดึงส์เมื่อเสด็จมาจากดาวดึงษ์แล้ว จึงอัญเชิญพระพุทธองค์ประทับบนบุษบกที่เตรียมไว้แห่แหนไปสู่ที่ประทับ ซึ่งจัดทำกันในวันแรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ อันเป็นวันออกพรรษาโดยอัญเชิญพระพุทธรูปขึ้นไปประดิษฐานบนบุษบกที่อยู่บนรถหรือบนเรือแล้วให้เรือชาวบ้าน หรือคนช่วยกันจับปลายเชือกลากพระไป แต่งานชักพระวัดนางชีเป็นการเชิญพระบรมสารีริกธาตุ และพระธาตุสาวกขึ้นประดิษฐานบนบุษบกแทนแล้วชักแห่ไปทางเรือจากหน้าวัดนางชีไปตามลำคลองด่าน เลี้ยวซ้ายออกไปตามคลองบางกอกใหญ่ และผ่านมาช่วงปลายของคลอง
วัดนางชีเป็นวัดที่สันนิษฐานกันว่าสร้างขึ้นในสมัยอยุธยา สาเหตุที่สร้างเนื่องมาจาก ลูกสาวของเจ้าพระยาพิชิตชัยมนตรีป่วยโดยไม่รู้สาเหตุจนกระทั่งชีปะขาวมาเข้าฝันเจ้าพระยาพิชิตชัยมนตรีให้แก้บนโดยการให้ลูกสาวบวชชี ดังนั้นเมื่อลูกสาวหายจึงให้ลูกสาวบวชชี และได้สร้างวัดนี้ขึ้น ต่อมา ได้กลายเป็นวัดร้างในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พ่อค้าชาวจีนดชได้เป็นผู้บูรณะ ปฏิสังขรณ์ใหม่และแก้ไขดัดแปลงให้เป็นอุโบสถและวิหารแบบจีน มีการประดับ ประดาด้วยตุ๊กตาหินแบบจีน และได้ถวายให้พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระนามว่า วัดนางชีโชติการาม ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์อีกครั้ง
ประเพณีแห่พระบรมสารีริกธาตุวัดนางชี ทางวัดจะนำพระบรมสารีริกธาตุมาให้สรงน้ำกันในตอนเช้า หลังจากนั้นก็จะเคลื่อนขบวน โดยมีเรือที่คอยลากจูงเรือพระที่เป็นเรือใหญ่ตั้งบุษบกและตกแต่งสวยงาม และมีวงปี่พาทย์บรรเลง ในสมัยต่อมาให้เรือยนต์เป็นเรือประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุเรือที่ตามขบวนเป็นเรือหางยาวและชาวบ้านไม่ได้มาร่วมขบวนเหมือนสมัยก่อน แต่จะนั่งดูขบวนแห่ตามริมคลอง ในขบวนมีการละเล่น ร้องรำทำเพลงเมื่อถึงวัดไก่เตี้ยก็จะอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุขึ้นประดิษฐานให้ชาวบ้านได้สักการะบูชา
พระบรมสารีริกธาตุที่วัดนางชีบรรจุในผอบแก้ว ที่เป็นขวดน้ำหอมจากฝรั่งเศสตามประวัติได้เล่าต่อๆ กันมาว่า คณะพราหมณ์และจีนได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุบรรจุผอบทองคำ 2 ผอบมาจากชมพูทวีปเพื่อจะไปประดิษฐานไว้ที่อาณาจักรศรีวิชัยและเชียงใหม่โดยทางเรือ แต่เรือเกิดอุบัติเหตุที่ปากน้ำครองด่าน เมืองธนบุรี ดังนั้นคณะพราหมณ์และชาวจีน จึงอัญเชิญ เสด็จพระบรมสารีริกธาตุประดิษฐานแต่ไม่ทราบว่าที่ใดเวลาผ่านไปผอบได้จมดิน จนเมื่อวัดนางชีสร้างเสร็จผอบก็ปรากฏให้แม่ชีเห็นจึงได้เชิญเสด็จประดิษฐาน ณ วัดนางชี เป็นต้นมา
ประเพณีแห่หงส์ธงตะขาบ เป็นประเพณีไทย ของอำเภอพระประแดง โดยเฉพาะ ประเพณีแห่หงส์ธงตะขาบนี้เริ่มต้นมานานกว่า 30 ปี จะจัดขึ้นทุกวันที่ 13 เมษายนของทุกปี
ปัจจุบันชาวมอญในอำเภอพระประแดงมีอยู่ ๑๐ หมู่บ้าน จะมีการเวียนกันซึ่งเป็นการแบ่งเบาภาระการจัดงาน โดยเวียนกันเป็นประธานจัดงานปีละ ๑ หมู่บ้าน ซึ่งแต่เดิมมานั้นจะกระทำกันเฉพาะแต่ละหมู่บ้านเท่านั้น ถึงอย่างไรก็ตามเมื่อมีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือ เพื่อเป็นการบูชาแล้ว หมู่บ้านมอญทั้งหลายจึงร่วมมือกันจัดงานพร้อมกัน เป็นขบวนแห่แหนที่งดงามมาก ในวันที่ ๑๓ เมษายนของทุกปี หมู่บ้านที่เป็นต้นแบบของประเพณีนี้ คือ หมู่บ้านทรงคนอง ซึ่งวัดประจำหมู่บ้านคือ วัดคันลัด วัดนี้มีเสาหงส์เป็นแห่งแรกในบรรดาวัดมอญทั้งหลาย เมื่อถึงเทศกาลตรุษสงกรานต์ ชาวมอญในหมู่บ้านจะช่วยกันทำธงตะขาบขึ้นแขวนบนยอดเสาที่ประดิษฐ์ด้วยตัวหงส์
ประเพณีแห่หงส์ธงตะขาบ เป็น ประเพณีไทย ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อรำลึกถึงบรรพบุรุษ ชาวมอญ หงส์ เป็นสัญลักษณ์ตัวแทนตำนานการกำเนิดถิ่นฐานของชาวมอญ ณ กรุงหงสาวดี(ตำนานของชาวมอญ) และตะขาบเป็นสัญลักษณ์ของคติธรรม ความเชื่อทางพุทธศาสนาที่เปรียบดังสัดส่วนในอวัยวะต่างๆของตัวตะขาบ ชาวมอญทั้ง 10 หมู่บ้านจะร่วมกันจัดทำธงตะขาบของหมูบ้านตน และหมันเวียนกันเป็นเจ้าภาพโดยมารวมตัวที่ศูนย์วัฒนธรรมอำเภอพระประแดงตั้งขบวนแห่ไปตามจุดต่างๆ ของตลาดพระประแดงหลังจากเสร็จสิ้นการแห่ ชาวมอญแต่ละหมูบ้านก็จะนำธงตะขาบไปแขวนที่ธงหงส์ของแต่ละวัดในหมู่บ้าน
จากการที่ชาวมอญเป็นผู้ที่นับถือศาสนาพุทธอย่างเคร่งครัด สิ่งใดที่เป็นการกระทำเพื่อพุทธศาสนาแล้ว ชาวมอญจะต้อนรับเสมอดังเช่นธงตะขาบที่มีตำนานเล่าขานกันมาและเมื่อทำธงตะขาบแล้วก็จะนำขึ้นแขวนบนเสาหงส์ จึงถือว่าเป็นการบูชาองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า และประการสืบสาน ประเพณีไทย ต่อไป
ที่มา: หนังสือ "แนะนำประเพณีไทยท้องถิ่น จังหวัดสมุทรปราการ
ประเพณีรับบัว เป็นงานประเพณีไทยของชาวจังหวัดสมุทรปราการ เกิดขึ้นเพราะความมีน้ำใจที่ดีต่อกันของคนไทยในท้องถิ่น กับคนมอญพระประแดงซึ่งทำนาอยู่ที่ตำบลบางแก้ว ครั้นถึงช่วงเวลาออกพรรษาคนมอญจะกลับไปทำบุญที่อำเภอพระประแดง จึงได้ร่วมกันเก็บดอกบัวเพื่อให้คนมอญนำกลับไปถวายพระที่วัดนับแต่นั้นเป็นต้นมา ชาวอำเภอพระประแดงและอำเภอเมืองต่างพร้อมใจกันพายเรือมาเก็บดอกบัวที่อำเภอบางพลี และถือเป็นโอกาสอันดีที่ได้นมัสการหลวงพ่อโตต่างพากันร้องรำทำเพลงบนเรือเพื่อสร้างความสนนกสนาน ซึ่งชาวบางพลีก็จะจัดเตรียมต้อนรับเป็นอย่างดี จึงเป็นที่มาของประเพณีรับบัว ซึ่ง เริ่มตั้งแต่วันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี
ประเพณีรับบัว กำหนดจัดขึ้น ณ ที่ว่าการอำเภอบางพลี วัดบางพลีใหญ่ใน และตลอดเส้นทางลำคลองสำโรงระหว่างที่ว่าการอำเภอบางพลี จนถึงวัดบางพลีใหญ่ใน ตั้งแต่ 06.00 - 24.00 น. ทุกวัน ยกเว้นวันสุดท้ายที่สิ้นสุดเวลา 13.00 น. โดยทางผู้จัดได้เตรียมการแสดง การประกวด การแข่งขัน กิจกรรมต่างๆ ไว้ 9 รายการ ที่ไม่ควรพลาดชม พร้อมกับคาดว่าจะได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก น่าจะมีเงินสะพัดในระบบมากกว่า 100 ล้านบาท ทั้งจากการจับจ่ายสินค้า ผลิตภัณฑ์ การบริการ โรงแรม และกิจกรรมต่างๆ ด้านการสันทนาการและการท่องเที่ยว ตลอดระยะเวลาการจัดงาน
ประเพณีรับบัว อำเภอบางพลี นี้ ถือได้ว่า เป็นสินค้าสำคัญทางด้านวัฒนธรรมที่ประเทศไทย สามารถสร้างเป็นจุดขายสำหรับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมประเพณีที่มีความโดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์ได้เป็นอย่างดี ด้วยแนวคิดที่ว่า “หนึ่งเดียวในโลก แห่งเดียวในประเทศไทย” โดยประเพณีรับบัว เป็น ประเพณีไทย ดีงามของท้องถิ่นที่สืบทอดกันมายาวนาน และเป็นกิจกรรมสำคัญทางพุทธศาสนา เพื่อให้พุทธศาสนิกชนนำดอกบัวมานมัสการหลวงพ่อโต วัดบางพลีใหญ่ใน อันเป็นที่เคารพสักการะและเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการอีกด้วย
ประเพณีไทยการทำบุญถวายข้าวหลาม ขนมจีนน้ำยาป่าแด่พระภิกษุสงฆ์ วัดหนองบัว วัดหนองแหน ซึ่งอยู่ในเขต อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา เหตุที่ถวายข้าวหลามนั้น อาจเป็นเพราะเดือน 3 เป็นฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าว ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา จึงนำข้าวอันเป็นพืชหลักของตนที่ได้จากการเก็บเกี่ยวครั้งแรก ซึ่งเรียกว่าข้าวใหม่ จะมีกลิ่นหอมน่ารับประทานมาก นำมาทำเป็นอาหาร โดยใช้ไม้ไผ่สีสุกเป็นวัสดุประกอบในการเผา เพื่อทำให้ข้าวสุก เรียกว่า “ข้าวหลาม” เพื่อนำไปถวายพระภิกษุ
ประเพณีไทยบุญเดือนสามแสดงให้เห็นถึงการระลึกถึงคุณประโยชน์ของธรรมชาติ ด้วยการบูชาพระแม่โพสพ นับเป็นการสืบทอดและอนุรักษ์ไว้ซึ่งประเพณีอันดีงามของท้องถิ่นให้คงอยู่สืบไป และเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวของอำเภอบ้างฉาง และจังหวัดระยอง ตลอดจนเป็นการเสริมสร้างความสามัคคีระหว่างส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจภาคเอกชน พ่อค้า และประชาชนในท้องถิ่นที่ร่วมกันจัดกิจกรรมงานประเพณีของท้องถิ่นอีกด้วย
ประเพณีไทยบุญเดือนสามเดิมเรียกว่าทำบุญกลางทุ่ง เป็นประเพณีที่ยึดถือสืบต่อกันมาแต่บรรพบุรุษ เนื่องจากสมัยก่อนบ้างฉางปลูกข้าวมากเมื่อเวลาเก็บเกี่ยวข้าวเหนียวใหม่ จึงตัดไม้ไผ่มาเผาเป็นข้าวหลามและนิมนต์พระมากลางทุ่ง เพื่อความเป็นสิริมงคลของชาวบ้านก็จะนำข้าว อาหาร และข้าวหลามที่เผาสุกใหม่ๆ ถวายพระ ถือเป็นการทำบุญข้าวใหม่ประจำปีประมาณเดือนสาม ดังนั้นจึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ทำบุญเดือนสาม
ประเพณีขึ้นเขาเผาข้าวหลามของชาวจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นประเพณีที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ ซึ่งอพยพมาจากเวียงจันทร์ สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ซึ่งเรียกตัวเองว่า “ชาวลาวเวียง” ปัจจุบันตั้งถิ่นฐานอยู่ในเขต อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา
เมื่อชาวบ้านเก็บเกี่ยวข้าวใหม่เรียบร้อยแล้วก็จะกำหนดวันทำบุญ นิยมเลือกที่ลานชายทุ่ง และอยู่ในชุมชนหนาแน่น แล้วไปนิมนต์พระที่วัดใหม่ในหมู่บ้านมาเจริญพระพุทธมนต์เย็น ในวันเจริญพระพุทธมนต์เย็นนั้นชาวบ้านจะนิยมนำข้าวหลาม (เผาข้าวหลาม) เพราะข้าวหลามเป็นข้าวใหม่แต่ละบ้านจะเผากันมาก คือทำแจกจ่ายลูกหลานและนำไปทำบุญข้าวเปลือกด้วย ถือว่าเป็นการบูชาพระคุณแม่โพสพ ในตอนเช้าชาวบ้านก็จะนำสำรับกับข้าวพร้อมข้าวหลามข้าวเปลือกถวายพระเมื่อพระฉันเสร็จก็จะให้พรเป็นอันเสร็จพิธี จึงเท่ากับเป็นการรักษาประเพณีดั้งเดิมที่เคยปฏิบัตมา ซึ่งเป็นการจรรโลงพระพุทธศาสนาทางหนึ่ง
ประเพณีสารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพงเพชร ยังนี้ยังมีการออกร้านแสดงสินค้าพื้นเมือง หัตถกรรมและที่สำคัญมีการประกวดขบวนรถกล้วยไข่ของอำเภอต่างๆ ซึ่งรถจะประดับตกแต่งด้วยส่วนประกอบต่างๆ ของ กล้วยไข่ กับการประกวดธิดากล้วยไข่ งานประเพณีสารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพงนี้ ถือว่าเป็นงานประเพณีที่ชาวจังหวัดกำแพงเพชรมีความภาคภูมิใจ เพราะเป็นงานบุญที่ส่งผลให้พี่น้องเกษตรกรมีรายได้ กับถือว่าเป็นงานที่ได้มีโอกาสให้การต้อนรับผู้มาเยือนเพื่อจะได้สืบสานประเพณีไทย
จากนั้นในช่วงของพิธีเปิดงานทางจังหวัดกำแพงเพชร ยังได้จัดให้มีประเพณีการแสดงของกลุ่มชาวบ้าน ที่แสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของชาวบ้านจากอำเภอต่างๆ ประกอบพิธีเปิดงาน จนเสร็จสิ้นพิธี โดยมีนักท่องเที่ยวต่างสนใจเข้าร่วมชมขบวนแห่จำนวนมาก
ประโยชน์ของกล้วยไข่
กล้วยไข่จะมีน้ำเป็นส่วนประกอบร้อยละ 70-80 เป็นน้ำที่ไม่มีสารพิษ เป็นประโยชน์กับร่างกายมาก จะมีวิตามินต่างๆ เกลือแร่ มีกากใยมาก หน้าที่ของวิตามินและเกลือแร่ จะทำให้ระบบต่างๆ ภายในร่างกายเกิดความสมดุล ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง โดยวิตามินบี จะช่วยบำรุงระบบประสาท ทำให้ความจำดีขึ้น วิตามินซีและวิตามินอี จะสร้างความสมดุลระบบการทำงานของร่างกาย ทำให้ไม่ป่วยง่าย ส่วนกากใยในผักผลไม้ จะทำหน้าที่ดูดซับสารพิษหรือสารอาหารที่เป็นส่วนเกิน ได้แก่ ไขมัน น้ำตาล แล้วขับถ่ายออกไป ทำให้ลำไส้ไม่มีสิ่งหมักหมม จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งในลำไส้ โรคหัวใจและหลอดเลือด รวมทั้งโรคเบาหวานได้
นอกจากนี้ กล้วยไข่ งานวิจัยของสำนักโภชนาการ กรมอนามัย พบว่ามีประโยชน์สูง โดยมีวิตามินอี เบต้าแคโรทีน และวิตามีนซี ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่เป็นสาเหตุของโรคมะเร็ง หรือทำให้เกิดการอักเสบ การทำลายเนื้อเยื่อ รวมทั้งโรคตาต้อกระจกได้
ที่มา ประเพณีไทยประเพณีสารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพง โดย ภวัต ศรีสมบูรณ์
ภาพประกอบจาก kamphaengphet.go.th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น